ไฝกับติ่งเนื้อ ไม่เหมือนกัน แต่เกิดในบริเวณเดียวกันได้
ลักษณะ | ไฝ | ติ่งเนื้อ |
---|---|---|
สี | น้ำตาล, ดำ | สีเดียวกับผิวหนัง, น้ำตาลอ่อน |
รูปร่าง | แบนราบ, นูนเล็กน้อย | ยื่นออกมา, มีก้าน |
พื้นผิว | เรียบ, ขรุขระ | เรียบ, นุ่ม |
ความเสี่ยง | อาจกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้ | ไม่เป็นอันตราย, ไม่ก่อมะเร็ง |
ตำแหน่งที่พบ | ทั่วร่างกาย | บริเวณผิวหนังเสียดสี (คอ, รักแร้, ขาหนีบ) |
ไฝที่รักแร้สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก
- การเสียดสีของผิวหนัง
- น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
- ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง
- กรรมพันธุ์
สำหรับการกำจัดไฝ
วิธีที่แนะนำคือการใช้เลเซอร์ CO2 หรือจี้ด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นวิธีที่
- ปลอดภัย และแม่นยำ
- ไม่เจ็บมาก เพราะมียาชาทาก่อนทำ
- ใช้เวลาทำไม่นาน
- แผลหายเร็ว
- ป้องกันการกลับมาเกิดซ้ำได้ดี
เลเซอร์ไฝที่รักแร้ เจ็บไหม
การยิงเลเซอร์ไฝที่รักแร้อาจมีความรู้สึกเจ็บมากกว่าบริเวณอื่นๆ เนื่องจาก
- รักแร้เป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทรับความรู้สึกมาก
- ผิวหนังบริเวณรักแร้บางและบอบบางกว่าที่อื่น
- เป็นจุดที่มีการเคลื่อนไหวบ่อย
ก่อนทำเลเซอร์สามารถแปะยาชาได้ แพทย์จะทายาชาเฉพาะที่ก่อนทำหัตถการเสมอ
คำแนะนำหลังจี้ไฝ
- ทายาฆ่าเชื้อตามที่หมอสั่ง
- หลีกเลี่ยงการโดนน้ำ 24 ชั่วโมงแรก
- ไม่แกะหรือเกาบริเวณที่ทำ
- สังเกตอาการผิดปกติ
คนไข้อยากปรึกษาเพิ่มเติม หรือนัดตรวจประเมินก่อนทำได้นะคะ หมอจะดูว่าเหมาะกับการรักษาด้วยวิธีไหนที่สุดค่ะ