รายการตรวจ | |
---|---|
testosterone*ตรวจระดับฮอร์โมนอิสระเพศชายที่ออกฤทธิ์ได้จริง | ✔ |
Testosterone ตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย | ✔ |
SHBG*(Sex Hormone Binding Globulin) ตรวจค่าโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนเพศชาย | ✔ |
Estradiol ตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิง(ดูค่าความสมดุลของฮอร์โมนเพศชายและหญิง | ✔ |
DHEAS ตรวจระดับฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต | ✔ |
CBC ค่าความสมบูรณ์ของเลือด | ✔ |
PSA ค่าความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก | ✔ |
แพ็คเกจตรวจฮอร์โมนเพศชาย Male Sex Hormone
รายละเอียด
ประหยัดเวลา สะดวก
- ไม่ต้องรอคิวนาน: ระบบการจองคิวล่วงหน้า ทำให้คุณสามารถเข้าตรวจได้ทันทีตามเวลาที่สะดวก
- ลดขั้นตอนที่ซับซ้อน: ไม่ต้องผ่านหลายแผนก ไม่ยุ่งยาก
- บริการครบจบในที่เดียว: ตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด ตรวจฮอร์โมน และตรวจยีนส์หรือ DNA ได้ในครั้งเดียว โดยไม่ต้องไปแยกตรวจหลายสถานที่
บริการเฉพาะบุคคล (Personalized Services)
- คลินิกเตรียมแพ็กเกจที่เหมาะกับความต้องการของคุณ เช่น ตรวจฮอร์โมนสำหรับผู้หญิง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น หรือแพ็กเกจตรวจยีนส์เพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคในอนาคต
- มีผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือทันสมัยสำหรับการตรวจที่แม่นยำและวิเคราะห์ผลเฉพาะบุคคล
ความเป็นส่วนตัว บริการติดตามผลและอธิบายผลตรวจ
- มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาและติดตามผลการตรวจอย่างใกล้ชิด
- มีการติดต่อคุณหลังจากตรวจเสร็จ เพื่ออธิบายผลตรวจและให้คำแนะนำเพิ่มเติม
- ให้คำปรึกษาหลังตรวจโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
2 สาขา เดินทางง่าย
- D’ Lovevery Clinic ตั้งอยู่ในทำเลที่เดินทางง่าย มีที่จอดรถสะดวก
- แผนที่การเดินทาง: ดูรายละเอียดที่นี่
เหมาะกับชีวิตสมัยใหม่
- ตรวจสุขภาพที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ เช่น การตรวจยีนส์ที่ช่วยวางแผนดูแลสุขภาพในอนาคต
- บริการด้วยทีมแพทย์ ผู้ช่วย พนักงาน ที่แนวคิดใหม่ เข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพแบบ Longevity
หลายคนอาจจะสงสัยว่า การตรวจ DNA ไม่ได้จำกัดแค่การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดอย่างที่พบในละครนะคะ หรือใช้เพียงเวลาต้องการรู้ว่าใครเป็นพ่อแม่ลูกกันเท่านั้น แท้จริงแล้ว การตรวจ DNA ในปัจจุบันสามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพเราได้ลึกซึ้งและหลากหลายกว่าที่คิดมากค่ะ
การตรวจ DNA บอกเราได้ถึงแนวโน้มการตอบสนองต่ออาหาร การออกกำลังกาย ความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ศักยภาพเฉพาะบุคคล สุขภาพผิว สมอง บุคลิกภาพ ไปจนถึงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ รวมกว่า 500 เรื่องใน 20 หมวดหมู่ การรู้ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจร่างกายตัวเอง วางแผนดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค และใช้ชีวิตได้ตรงกับความต้องการของตัวเองยิ่งขึ้น
อาการ หงุดหงิดง่าย อาจเกิดได้จากทั้งสภาพจิตใจและความผิดปกติของระดับฮอร์โมนในร่างกายค่ะ ปัจจัยทางจิตใจ เช่น ความเครียด วิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า สามารถส่งผลทำให้เราอารมณ์แปรปรวนหรือหงุดหงิดง่ายขึ้นได้เช่นกัน ขณะเดียวกัน ฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกาย—ทั้งฮอร์โมนเพศชาย (เช่น เทสโทสเตอโรน) และฮอร์โมนเพศหญิง (เช่น เอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน)—มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก ถ้าระดับฮอร์โมนเหล่านี้ผิดปกติ ไม่สมดุล ก็อาจส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
หากคุณสังเกตว่าตัวเองหงุดหงิดง่ายหรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย การเช็กสุขภาพฮอร์โมนจึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณา ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง D’Lovevery Clinic มีบริการ ตรวจสมดุลฮอร์โมนเพศชาย และ ตรวจสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง เพื่อช่วยวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง และให้คำแนะนำปรับสมดุลทั้งสุขภาพกายและใจ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นค่ะ
การตรวจเลือดทั่วไปกับการตรวจ DNA ต่างกันที่วัตถุประสงค์และช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยการตรวจเลือดจะเน้นเช็กสุขภาพในปัจจุบัน เช่น ค่าเลือด น้ำตาล ไขมัน หรือการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ผลจึงใช้ได้เฉพาะช่วงเวลานั้นและควรตรวจซ้ำทุกปีหรือตามคำแนะนำแพทย์ ส่วนการตรวจ DNA เป็นการวิเคราะห์พันธุกรรมที่ติดตัวเราตั้งแต่เกิด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรู้ความเสี่ยงเฉพาะตัวในระยะยาว เช่น ความเสี่ยงโรคบางชนิด รูปแบบการเผาผลาญอาหาร หรือแนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับร่างกาย ซึ่ง ควรตรวจเพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะผลตรวจ DNA จะไม่เปลี่ยนแปลงตลอดชีพ
อาการแบบนี้ หมออยากอธิบายว่า มันไม่ใช่ “หิวจริง” ที่ร่างกายขาดพลังงานนะคะ แต่จะเป็นลักษณะของ “ความอยากอาหาร” หรือที่ฝรั่งเรียกว่า “craving” บางคนอาจเรียกว่าการกินตามอารมณ์ (emotional eating) ก็ได้ค่ะ
เวลาร่างกายหิวจริง เราจะรู้สึกท้องร้อง รู้สึกอ่อนแรง หรือต้องหาอะไรใส่ท้องเพื่อเติมพลังงานให้ร่างกาย แต่ถ้าหิวแบบที่หมอบอกไปเมื่อกี้ มักจะเกิดขึ้นสั้น ๆ เป็นความอยากกินอะไรบางอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น ของหวาน ของทอด หรือขนมต่าง ๆ ไม่ได้มาจากความต้องการอาหารจริง ๆ ของร่างกาย แต่เกิดจากสิ่งกระตุ้นรอบตัว อย่างความเครียด อารมณ์ หรือแม้แต่กลิ่นอาหารค่ะ
แบบนี้พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยทำงาน หรือสาว ๆ ที่อยู่ในช่วงก่อนมีประจำเดือน เพราะฮอร์โมนมีผลต่ออารมณ์และความอยากอาหารค่ะ
ดังนั้นถ้าคนไข้รู้สึกอยากกินอะไรขึ้นมาช่วงสั้น ๆ แต่ถ้าไม่ได้กินแล้วก็หายเอง สบายใจได้ค่ะ ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้เป็นโรคอะไร หากอยากควบคุมน้ำหนัก หรือควบคุมสุขภาพ หมอแนะนำให้ลองสังเกตความหิวของตัวเอง ถ้ารอประมาณ 10-15 นาทีแล้วมันหายไป ก็แสดงว่าเป็นความอยากมากกว่าหิวจริงค่ะ
ถ้ากำลังมีประจำเดือน การตรวจสุขภาพพื้นฐาน เช่น ตรวจไขมัน หรือตรวจน้ำตาลในเลือด สามารถทำได้ตามปกติค่ะ แต่ต้องเข้าใจว่า ค่าฮีโมโกลบินหรือเม็ดเลือดแดงอาจต่ำกว่าปกติเล็กน้อย เพราะร่างกายเสียเลือดในช่วงนี้ ซึ่งไม่ถือว่าผลตรวจผิดปกติจริง ๆ แต่ถ้าเป็นการตรวจฮอร์โมนเพศ หรือค่าที่ไวต่อภาวะเลือดออก แนะนำให้เลื่อนตรวจหรือปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อให้ผลตรวจแม่นยำที่สุด
สำหรับการตรวจฮอร์โมนหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับความงามและสุขภาพในช่วงมีประจำเดือน ผลตรวจอาจเปลี่ยนแปลงตามรอบเดือน ทำให้การวินิจฉัยไม่ชัดเจนนะคะ ดังนั้นการแจ้งแพทย์และนัดช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงสำคัญมาก เพื่อให้ได้รับคำแนะนำและผลตรวจที่ตรงกับภาวะร่างกายจริง ๆ ค่ะ
