เราจะรู้ได้เลยไหมว่า หลังผ่าคลอด เราจะต้องเป็นคีลอยด์แน่ๆ
จริงๆ แล้วเราไม่สามารถรู้ได้ 100% ว่าจะเกิดคีลอยด์หรือไม่ มากน้อยแค่ไหน แต่เราสามารถสังเกตสัญญาณเบื้องต้นได้ค่ะ
การเกิดคีลอยด์มักมีปัจจัยเสี่ยงดังนี้
- ประวัติส่วนตัวหรือครอบครัวที่เคยเป็นคีลอยด์
- อายุน้อย (ต่ำกว่า 30 ปี) ยิ่งเกิดง่ายกว่าคนอายุเยอะ
- ตำแหน่งแผลอยู่บริเวณที่มีการเคลื่อนไหวบ่อย
สาเหตุที่คนอายุน้อยเกิดคีลอยด์ง่าย
- ฮอร์โมนการเจริญเติบโตสูง ทำให้การสร้างคอลลาเจนมากเกินไป
- ผิวหนังมีความยืดหยุ่นดี ทำให้แผลดึงรั้งได้มาก
- การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่แรงกว่า
สัญญาณที่บ่งชี้ว่าอาจเกิดคีลอยด์
- แผลนูนเกินขอบแผลเดิม
- มีอาการคัน แดง หรือรู้สึกตึง
- แผลยังคงแดงเรื่อๆ นานเกิน 6-8 สัปดาห์
- รู้สึกแสบร้อนบริเวณแผล
แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลมากนะคะ เพราะ
- ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นคีลอยด์
- แผลผ่าคลอดอยู่ในตำแหน่งที่มีแรงตึงน้อย เสี่ยงน้อยกว่าบริเวณอื่น
- แพทย์จะเย็บแผลด้วยเทคนิคพิเศษเพื่อลดการเกิดแผลเป็น
หมอแนะนำให้คุณแม่หลังคลอด
- สังเกตแผลอย่างสม่ำเสมอ
- ถ่ายรูปแผลทุก 2 สัปดาห์เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง
- ดูแลแผลตามคำแนะนำพื้นฐาน ตามที่แพทย์พยาบาลที่ผ่าคลอดแนะนำ
ใครที่คิดว่ามีคีลอยด์ผ่าคลอดที่ชัดเจน กังวล อยากลดขนาด อยากปรับเม็ดสีให้กลืนไปกับผิว ส่งภาพ หรือเข้ามาปรึกษากับหมอได้ค่ะ