ฆสพ.สบส. ๒๙๘๓/๒๕๖๗

ถาม:

ยาลดความอ้วน ต่างจากปากกาลดความอ้วนยังไง

หมอต้าร์-exosome-สกินบูสเตอร์-ดีเลิฟเวอรี่คลินิก

(หมอต้าร์) พญ.อภิญญา เสาร์แก้ว

ว.49465

ตอบ:

ยาลดน้ำหนักแบบเดิมที่หลายคนรู้จัก มักเป็นยาประเภทกดประสาทส่วนกลาง ออกฤทธิ์ให้รู้สึกไม่หิว แม้จะน้ำหนักลดเร็วแต่ผลลัพธ์มักไม่ยั่งยืน พอหยุดยากลับมาโยโย่ ผลข้างเคียงชัดเจน เช่น ใจสั่น นอนไม่หลับ หรือเวียนหัว และเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจ อีกทั้งหลายตัวยายังผิดกฎหมายหรือมีสารต้องห้ามที่เป็นอันตราย เรียกได้ว่าการลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้ขัดต่อกลไกธรรมชาติของร่างกายและมีความเสี่ยงด้านสุขภาพสูง หมอเคยเจอเคสที่แทบจะคุยไม่รู้เรื่องมาแล้ว เพราะสมองคนไข้สั่งการช้าไปหมด

ในขณะที่ กลุ่มยาปากกา เป็นยาใหม่ในกลุ่มฮอร์โมนฉีดสัปดาห์ละครั้ง ด้วยกลไกกระตุ้นฮอร์โมน GLP-1 และ GIP ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มไว ควบคุมความหิวโดยไม่ลดกล้ามเนื้อ ลดได้เฉพาะไขมันส่วนเกิน ผ่านการรับรองความปลอดภัยจาก US-FDA เห็นผลชัดเจนและยั่งยืน ผลข้างเคียงจะน้อยกว่าและปรับขนาดยาได้ตามการดูแลของแพทย์ ที่สำคัญยาทุกชนิดต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำและการติดตามของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของคนไข้


หมายเหตุ: คำตอบนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลเบื้องต้น กรุณาทำนัดเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจและรับข้อมูลโดยละเอียด

ยาลดน้ำหนัก กับปากกาลดน้ำหนัก ต่างกันตรงไหน อะไรปลอดภัยกว่า
ลดน้ำหนัก วิธีไหนง่ายที่สุด
จุดเปรียบเทียบยาลดน้ำหนักแบบเดิม(Tirzepatide)
วิธีออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ฝืนธรรมชาติกระตุ้น GLP-1 และ GIP เลียนแบบฮอร์โมน
การใช้งานรับประทานทุกวันฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ผลการลดน้ำหนักลดได้ชั่วคราว กลับมาโยโย่หลังหยุดยาลดได้ 15-22% (บางงานวิจัยมากกว่า 22%)
เป้าหมายหลักกดหิว ลดอาหารที่กินอิ่มไวขึ้น ควบคุมหิว ลดการกิน
ผลข้างเคียงใจสั่น นอนไม่หลับ ปากแห้ง เวียนหัวคลื่นไส้ ท้องเสีย อาเจียน (ปรับได้)
ความปลอดภัย/ข้อควรระวังเสี่ยงอันตรายต่อหัวใจและประสาทกลางได้รับรองจาก US-FDA ติดตามโดยแพทย์
กฎหมายหลายตัวยาผิดกฎหมายหรือควบคุมได้รับอนุญาตในหลายประเทศ
ผลต่อกล้ามเนื้อมักลดกล้ามเนื้อด้วยรักษากล้ามเนื้อ ลดเฉพาะไขมัน
เหมาะกับใครลดเองไม่สำเร็จ/โยโย่/น้ำหนักเกิน+โรคประจำตัว
ตัวอย่างชื่อยาSibutramine, Phentermine ฯลฯTirzepatide (Mounjaro/Zepbound)

การควบคุมขนาดยา

ยาปากกาลดน้ำหนัก

  • ข้อดีสำคัญคือ แพทย์สามารถ “ปรับขนาดยา” ได้อย่างปลอดภัย โดยจะเริ่มจากขนาดต่ำ (เช่น 0.5 mg หรือ 2.5mg/สัปดาห์) แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามดัชนีมวลกาย (BMI) หรือการตอบสนองของแต่ละบุคคล
  • แนวทางนี้ช่วยลดความเสี่ยงผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ทำให้ร่างกายปรับตัวได้ดีขึ้น
  • ทุกขั้นตอนอยู่ในการดูแลของแพทย์ สามารถออกแบบขนาดยาให้เหมาะกับสุขภาพและเป้าหมายของแต่ละคน

ยาลดน้ำหนักแบบเดิม (เช่น Sibutramine, Phentermine)

  • ขนาดยามักค่อนข้าง “ตายตัว” ไม่มีสูตรยืดหยุ่นมากนัก
  • มักมีเพียงขนาดเดียวหรือไม่กี่ขนาด และไม่สามารถปรับเพิ่ม–ลดระหว่างการรักษาได้ง่าย
  • ทำให้การควบคุมผลข้างเคียงและการตอบสนองของคนไข้แต่ละคนยากกว่า
  • ถ้าเกิดอาการไม่พึงประสงค์ บางคนจำเป็นต้องหยุดยาไปเลย

คำถามอื่นๆที่พบบ่อย

บริการของคลินิก