การประเมินค่า BMI (ดัชนีมวลกาย)
- BMI < 23 : หมอจะแนะนำให้คุมอาหารและออกกำลังกายโดยเฉพาะค่ะ
- BMI 23–24.9 : จัดอยู่ใน “น้ำหนักเกิน” หมอก็ยังเน้นคุมอาหาร-ออกกำลังกายเป็นหลัก หากมีโรคร่วม เช่น เบาหวาน ความดัน อาจพิจารณาเรื่องยาในบางราย
- BMI 25–29.9 : จัดเป็น “ภาวะอ้วน”
- กรณีนี้ถ้าคุมอาหาร-ออกกำลังกายไม่สำเร็จ หรือเริ่มมีโรคแทรกซ้อน (เช่น ไขมันในเลือดสูง, ความดัน, เบาหวาน) หมอจะพิจารณายาปากกาลดน้ำหนักร่วมด้วยค่ะ
- BMI ≥ 30 : เป็น “โรคอ้วน”
- ถ้าคุมอาหารกับออกกำลังกาย หรือยาปากกาไม่ได้ผล หรือคนไข้มีโรคประจำตัวควบคุมยาก เช่น DM, HT, OSA
หมอจะเริ่มพูดถึงตัวเลือกอื่น เช่น การใส่บอลลูนในกระเพาะหรือผ่าตัดกระเพาะ
- ถ้าคุมอาหารกับออกกำลังกาย หรือยาปากกาไม่ได้ผล หรือคนไข้มีโรคประจำตัวควบคุมยาก เช่น DM, HT, OSA

การเลือกรูปแบบการรักษา
1.แบบไม่ใช้ยา (Lifestyle Modification)
- เหมาะกับคนไข้ที่ BMI ยังไม่สูงมาก และยังไม่มีโรคร่วมรุนแรง
- หมอจะแนะนำอาหารสุขภาพ ควบคุมแคลอรี่ เพิ่มกิจกรรมทางกาย
- หมอจะช่วยวางแผนและติดตามผลใกล้ชิด
2.การใช้ยาลดน้ำหนัก (เช่น ยาปากกาฉีด)
- แนะนำสำหรับ BMI ≥ 25 (หรือ BMI 23+ ถ้ามีโรคร่วม)
- คนไข้ควรลองคุมอาหารและออกกำลังกายก่อนอย่างน้อย 3–6 เดือน ถ้าไม่ได้ผลถึงจะพิจารณายา
- หมอจะสอบถามโรคประจำตัว ยาที่ใช้ ปรึกษาเรื่องผลข้างเคียง และวางแผนติดตาม
3.การทำบอลลูนในกระเพาะ (Intragastric Balloon)
- เหมาะกับคนไข้ BMI 27–35 ที่ไม่อยากหรือยังไม่เหมาะกับการผ่าตัด
- เหมาะกับคนไข้ที่ลองวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
- เป็นวิธีที่ช่วยลดน้ำหนักโดยทำให้กินได้น้อยลงจากการอิ่มเร็วขึ้น
4.การผ่าตัดกระเพาะ (Bariatric Surgery)
- เหมาะกับคนไข้ BMI ≥ 35 หรือ BMI ≥ 30 ที่มีโรคร่วมรุนแรง (เช่น เบาหวาน, OSA, ความดัน)
- กรณีที่ใช้วิธีอื่นแล้วยังควบคุมน้ำหนักหรือโรคร่วมไม่ได้
- หมอจะปรึกษาร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ
ปัจจัยอื่น ๆ ที่หมอจะดูด้วย
- สุขภาพจิตและความพร้อมของคนไข้
- โรคประจำตัว ยาที่ใช้ประจำ
- งบประมาณและความสะดวกของคนไข้
- ความคาดหวังเรื่องการลดน้ำหนัก
กินไม่หยุด กินดึก นึกอยากกินตลอดเวลา ปกติไหม
หมอขอตอบในเชิงพฤติกรรมนะคะ ถ้าคนไข้มีอาการ กินเยอะ กินไม่หยุด ไม่อิ่มง่าย แถมรู้สึกควบคุมตัวเองไม่ได้ แม้จะพยายามแล้ว และกังวลว่าอาจจะเป็นโรค “กินไม่หยุด” หรือไม่ หมออยากให้ทราบว่ามี “ภาวะทางจิตเวช” ที่เกี่ยวกับการกินอยู่ค่ะ เช่น
Binge Eating Disorder (BED)
เป็นโรคกลุ่มหนึ่งในความผิดปกติของการกิน (Eating disorder)
- ลักษณะคือ “กินมากผิดปกติในช่วงเวลาสั้น ๆ”
- ควบคุมตัวเองไม่ได้ขณะกิน หรือรู้สึกผิด-ละอายหลังจากกินแล้ว
- กินเร็ว กินจนรู้สึกอึดอัด กินแม้จะไม่หิว กินคนเดียวเพราะอาย
- อาจยัง BMI ไม่สูงมาก แต่ก็ส่งผลต่อสุขภาพจิตและร่างกาย
Emotional Eating และ Night Eating Syndrome
- กินเพราะเครียด เหงา วิตกกังวล หรือกินตอนกลางคืนบ่อย ๆ
- ส่วนนึงเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความเครียด
วิธีที่หมอจะแนะนำ
1. ประเมินว่าคนไข้มีภาวะผิดปกติจริงหรือไม่
- หมอจะซักประวัติละเอียด เกี่ยวกับรูปแบบการกิน อารมณ์ก่อน-หลังการกิน
- ถามพฤติกรรม เช่น กินกลางคืนบ่อยไหม กินตอนเครียดหรือเปล่า
- ถามว่ารู้สึกผิด หรือพยายามหยุดแต่หยุดไม่ได้ไหม
2. ปรับพฤติกรรมร่วมกับการรักษาทางจิตใจ
- หมอจะสนับสนุนให้คนไข้ พบจิตแพทย์ หรือจิตวิทยาคลินิก
- ใช้วิธี CBT (Cognitive Behavioral Therapy) ช่วยฝึกสังเกตความคิดและอารมณ์ก่อนกิน หาวิธีรับมือกับความอยาก
- ฝึก Mindfulness, การรับรู้ความรู้สึกตัวเอง, การปรับนิสัยการกิน
- ถ้ามีความรู้สึกซึมเศร้า วิตกกังวลร่วมด้วย อาจจำเป็นต้องรักษาร่วมกัน
3. วางแผนการกินและจดบันทึก
- หมอจะให้ “จดไดอารี่อาหาร” และบันทึกอารมณ์ก่อน-หลังการกิน
- ช่วยให้เห็น Pattern และลดการกินตามอารมณ์
4. สอนเทคนิคควบคุมตนเอง
- ฝึกแบ่งอาหาร, กินช้า, วางช้อนบ่อย ๆ
- เลี่ยงสถานการณ์ล่อใจ เช่น ตุนขนมเอาไว้ใกล้ตัว
- หากิจกรรมแทนการกิน (เดินเล่น อ่านหนังสือ อาบน้ำ ฟังเพลง ฯลฯ)
5. กรณีที่อาการรบกวนชีวิต หรือควบคุมไม่ได้
- หมอจะแนะนำให้ “รับคำปรึกษา” แบบเป็นทางการ
- ในบางกรณีที่จำเป็น อาจใช้ยากลุ่มช่วยลดความอยากอาหาร หรือยาคุมโรคทางจิตเวช ร่วมด้วย
- ยัง ไม่พิจารณาผ่าตัด หาก BMI ไม่ถึงเกณฑ์และยังไม่มีโรคร่วมร้ายแรง
ถ้าคนไข้คิดว่าอาจมีปัญหาแนวนี้ แนะนำให้จดว่าใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีวันที่ “หลุด control” แบบนี้กี่วัน กินโดยไม่รู้ตัว กินเร็ว หรือกินจนจุกบ้างไหม แล้วค่อยเอาข้อมูลมาคุยกับหมอได้เลยนะคะ หมอจะช่วยประเมินให้ละเอียดค่า ❤️