ฆสพ.สบส. ๒๙๘๓/๒๕๖๗

ใครที่กำลังจะเตรียมตัวเป็นคุณแม่ โดยเฉพาะท้องลูกคนแรก สำคัญมากๆ ว่าที่คุณแม่จะหาข้อมูล ศึกษาความรู้ เพื่อเตรียมตัวกันเยอะมากๆ แต่มีอยู่ 1 เรื่องที่หลายคนมองข้ามไป เพราะเราจะโฟกัสไปที่ลูกเป็นหลัก จนลืมโฟกัสมาที่ตัวคุณแม่เอง วันนี้หมอจะมาแชร์ถึงเรื่องการเตรียมตัวดูแลผิวหน้า ที่อาจจะแตกต่างไปจากเดิม ระหว่างก่อนมีน้อง กับหลังมีน้อง

แผนการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาและรวมถึงการดูแลผิวหน้า

6-12 เดือนก่อนตั้งครรภ์

  1. ตรวจสุขภาพทั่วไปและตรวจภูมิคุ้มกัน
  2. เริ่มทานวิตามินและกรดโฟลิก
  3. ปรับพฤติกรรมการกินให้มีสุขภาพดี
  4. เริ่มออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  5. เลิกสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  6. เริ่มการดูแลผิวหน้าอย่างเข้มข้น (ทรีทเม้นต์ต่างๆ)

3-6 เดือนก่อนตั้งครรภ์

  1. ตรวจสุขภาพฟัน
  2. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่
  3. ฉีดวัคซีนที่จำเป็น
  4. ทำความสะอาดบ้านและสิ่งแวดล้อม
  5. ถ้าอยากให้ผิวหน้าตึงกระชับในช่วงตั้งครรภ์ ก็ควรเลือกเติมสารกระตุ้นคอลลาเจน ไหมน้ำต่างๆในช่วงเวลานี้

1-3 เดือนก่อนตั้งครรภ์

  1. ติดตามรอบเดือนและช่วงตกไข่
  2. ลดความเครียด
  3. เตรียมความพร้อมทางการเงิน
  4. พูดคุยกับคู่สมรสเรื่องการเลี้ยงดูบุตร
  5. ถ้าไม่อยากให้ริ้วรอยมาช่วงตั้งครรภ์ ช่วงเวลานี้เหมาะแก่การเติมโบท็อกซ์ลดริ้วรอย อย่างน้อยผิวหน้าจะตึง ริ้วรอยหางตาก็จะมาช้าลงไปอีกอย่างน้อย 5-6 เดือน
  6. ยกกระชับผิว แก้ม ลำคอ เพื่อให้คอลลาเจนใต้ผิวได้ตื่นตัว พร้อมรับการอดหลับอดนอน และความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อผิวหน้า ด้วย HIFU, UltraFormer, Ulthera, Thermage
hifu เก็บกรอบหน้า รีวิวจากคนอายุ 40+

ระหว่างพยายามตั้งครรภ์

  1. มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
  2. ทานอาหารที่มีประโยชน์
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. หลีกเลี่ยงสารเคมีอันตราย
  5. ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ปลอดภัยสำหรับคนท้อง

ปัญหาผิวที่เกิดขึ้นได้ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์

ปัญหาผิวที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์มีหลายอย่าง ที่พบบ่อยได้แก่

  1. ผิวแห้ง คัน: เนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ทำให้ผิวแห้งและคันได้
  2. สิว: ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้เกิดสิวได้มากขึ้น
  3. ฝ้า กระ: อาจเกิดจุดด่างดำบนใบหน้าได้ เรียกว่า “ฝ้าท้อง”
  4. ผื่นคัน PUPPP: ผื่นคันที่มักเกิดบริเวณท้องในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์
  5. รอยแตกลาย: เกิดจากผิวหนังขยายตัวเร็วเกินไป มักพบที่ท้อง ต้นขา และหน้าอก
  6. เส้นเลือดขอด: อาจเกิดขึ้นที่ขาหรือบริเวณอื่นๆ
  7. ผิวมัน: เนื่องจากต่อมไขมันทำงานมากขึ้น
  8. ขนขึ้นมากผิดปกติ: อาจพบขนขึ้นมากขึ้นในบางบริเวณ
  9. ผิวคล้ำขึ้น: โดยเฉพาะบริเวณหัวนม ขาหนีบ และแนวกลางท้อง
  10. เล็บเปราะบาง: เล็บอาจอ่อนแอและแตกง่ายขึ้น

สำหรับการดูแล ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการรุนแรง ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสำหรับคนท้อง ทาครีมบำรุงผิวเป็นประจำ และดื่มน้ำให้เพียงพอ

หลังให้นมบุตร กี่เดือนถึงจะฉีดหน้า ทำหน้าได้

โดยทั่วไปควรรออย่างน้อย 6-12 เดือนหลังคลอด แต่ระยะเวลาที่เหมาะสมจะแตกต่างกันในแต่ละคน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนทำทรีตเมนต์ใดๆ

การมีผิวสวย ดูดีระหว่างตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด เป็นเรื่องที่เราสามารถควบคุมได้ค่ะ