ฆสพ.สบส. ๒๙๘๓/๒๕๖๗

ถาม:

งดน้ำตาล 1 เดือน ร่างกายจะมีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง

หมอต้าร์-exosome-สกินบูสเตอร์-ดีเลิฟเวอรี่คลินิก

(หมอต้าร์) พญ.อภิญญา เสาร์แก้ว

ว.49465

ตอบ:

ถ้าจะทำจริง หมอขอชื่นชมในความแน่วแน่ของคนไข้มากๆเลยค่ะ! หมอเจอคนไข้เรื่องลดน้ำตาลมาเยอะมาก ส่วนใหญ่จะไม่รอด

ช่วง 2 สัปดาห์แรกๆ นี่ปัญหาหลักเลยไม่ใช่แค่ความอยากหรือความหิว แต่เป็น “ร่างกายต่อต้าน” แบบครบวงจรเลยค่ะ คนไข้มักเล่าเหมือนกันหมด—อารมณ์นี่มาเป็นชุด ทั้งหงุดหงิด หัวร้อน บางทีก็ซึมเศร้า หรืออยู่ดีๆ ก็ดูเพลีย หมอชอบเรียกว่า “โหมดร่างนางยักษ์–นางฟ้า–ร่างทรง” เพราะจะอยู่กับอารมณ์แปรปรวนวนเป็นลูปตลอดสัปดาห์แรกๆ ลองไปถามคนใกล้ตัวได้! แต่หลังจากนั้นจะดีค่ะ หมอสรุปให้ด้านล่างนะคะ


หมายเหตุ: คำตอบนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลเบื้องต้น กรุณาทำนัดเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจและรับข้อมูลโดยละเอียด

ติดหวาน ใช้ปากกาคุมหิว ลดน้ำหนัก ozempic ได้ไหม
งดหวาน 1 เดือน ร่างกายจะเป็นยังไงบ้าง ดีหรือไม่ดียังไง

ถ้างดน้ำตาล 1 เดือน ร่างกายจะเปลี่ยนอะไรบ้าง

  1. สัปดาห์แรก
    • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เหมือนมีใครมากวนใจตลอดเวลา บางคนปวดหัว นอนไม่ดี รู้สึกเพลีย ไม่มีแรง (อาการคล้ายลงแดงน้ำตาล)
    • อยากของหวานตลอดเวลา เป็นช่วงที่ลำบากใจที่สุด
  2. สัปดาห์ที่ 2
    • ร่างกายเริ่มหัดสร้างพลังงานจากไขมันหรือแหล่งอื่นแทนน้ำตาล อาการอยากน้ำตาลจะเริ่มลดลง
    • อารมณ์ค่อยๆ ทรงตัวขึ้น แม้จะยังแอบอยากของหวานบางเวลา แต่ไม่หนักเท่าเดิม
  3. สัปดาห์ที่ 3
    • ร่างกายปรับตัว องศาความอยากน้ำตาลลดฮวบ
    • ผิวหน้าเริ่มสดใสขึ้น รู้สึกตัวเบา หลายคนบอกน้ำหนักค่อยๆ ลง อาการบวมน้ำลด
    • พลังงานในแต่ละวันดีขึ้น (ถ้าไม่ขาดสารอาหารอื่นร่วมด้วย)
  4. สัปดาห์ที่ 4
    • ระบบร่างกายเริ่มอยู่ตัว สมองโปร่งสดชื่น นอนหลับดีขึ้น
    • หายใจโล่งขึ้น เรื่องท้องอืด ท้องเฟ้อหรือสิววูบวาบก็มักจะดีขึ้น
    • หลายคนจะตกใจว่าหน้าตาสดใสขึ้น สุขภาพโดยรวมดีขึ้น หน้าท้องแฟ่บลงจริง

หลังผ่านพ้น 1 เดือน ร่างกายจะชินกับการงดน้ำตาลไหม?

ส่วนใหญ่หลังพ้น 3-4 สัปดาห์ ร่างกายจะ “re-program” ระบบเผาผลาญพลังงานใหม่จากที่เคยพึ่งน้ำตาลมาเป็นไขมันกับโปรตีน

  • ระบบอินซูลินกับฮอร์โมนความหิวจะสมดุลขึ้น
  • อารมณ์และความอยากของหวานลดลงเยอะมาก
  • รสชาติธรรมชาติของอาหารจะเริ่มอร่อยขึ้น ไม่ต้องเติมหวานเยอะเหมือนเดิม

แต่…ความคิดถึงน้ำตาล (โดยเฉพาะเวลามีสิ่งกระตุ้น เช่น อารมณ์แย่ เจอขนมโปรด งานปาร์ตี้) ยังคงมี ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติ ร่างกายบางคนจะใช้เวลายาวถึง 2-3 เดือน กว่าจะ “ไม่รู้สึกเฉย ๆ” กับน้ำตาล ช่วงนี้ถ้าได้เผลอกลับไปกิน จะรู้สึกหวานเว่อร์ไม่อร่อยเหมือนก่อนด้วยซ้ำ

  • ถ้าอดทนต่อไปถึง 2-3 เดือน
    • สมองและร่างกายจะไม่อยากน้ำตาลแบบช่วงแรก ๆ แล้ว
    • รู้จักแยกแยะว่าตรงไหนคือ “อยากเพราะอารมณ์” กับ “อยากเพราะร่างกายต้องการ”
    • มีภูมิต้านทานทางใจมากขึ้น โอกาสรีแลปส์ (กลับไปตบะแตก) จะน้อยลง

น้ำหนักจะลด พุงจะยุบไหม

หลังจากที่เราตั้งใจงดน้ำตาลติดต่อกัน 1 เดือน หลายคนอาจจะเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น ผิวหน้าดูสดใสขึ้น สิวอาจจะลดลงได้ และอารมณ์ก็สดชื่นขึ้นด้วย เพราะการลดน้ำตาลมีผลต่อฮอร์โมนและระบบภูมิคุ้มกันโดยรวมค่ะ สำหรับเรื่องรูปร่าง น้ำหนัก หรือสัดส่วน อาจเห็นการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ไม่ได้เปลี่ยนแบบรวดเร็วหรือชัดเจนมากนัก

ในบางคนอาจจะรู้สึกว่าพุงยุบลงเล็กน้อย เสื้อผ้าดูใส่สบายขึ้น แต่ก็ไม่ได้ถึงกับเห็นผลแบบ “ว้าว” หรือว่าไซส์กางเกงลดลงเป็นนิ้วในระยะเวลาสั้น ๆ ขนาดนั้น ที่สำคัญคือ อยากให้ทุกคนภูมิใจค่ะ วินัยเล็ก ๆ ที่เราสร้างตรงนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดีในระยะยาว นี่แหละค่ะ คือสิ่งที่บอกว่า “เรามาถูกทางแล้ว” ร่างกายในตอนนี้อาจจะยังไม่เปลี่ยนแบบชัดเจนทันใจ แต่สุขภาพข้างในเริ่มเปลี่ยนไปแล้วแน่นอน อย่าเพิ่งท้อใจนะคะ เดินต่อไปด้วยใจที่เข้มแข็ง คุณหมอเป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ!

คำถามอื่นๆที่พบบ่อย

บริการของคลินิก