แนวทางป้องกันแผลปริหลังตัดไหม
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแผลสมานดีแล้วจริง ๆ ก่อนตัดไหม
- โดยดูจากลักษณะแผล เช่น ขอบแผลติดกันดี ไม่บวมแดง ไม่มีน้ำซึม หรืออาการติดเชื้อ
- ระยะเวลาการตัดไหมขึ้นกับตำแหน่งของแผล เช่น แผลตามหน้า (มักตัดเร็วกว่า) แผลตามลำตัวหรือขา (ต้องทิ้งไว้นานกว่า)
- บอกแพทย์หากยังมีข้อสงสัยหรืออาการแปลกที่แผล
- ถ้าคนไข้รู้สึกว่าแผลยังเจ็บมาก ขอบแผลยังไม่ติดหรือมีน้ำซึมจากแผล ควรแจ้งแพทย์ก่อนตัดไหมทันที ไม่ควรเร่งตัดไหมเร็วเกินไป
- ลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ
- งดใช้/ขยับส่วนของร่างกายบริเวณแผลมากเกินไป
- ดูแลความสะอาดแผลเสมอ
- หากเป็นเบาหวานหรือโรคที่ทำให้แผลหายช้า ต้องควบคุมระดับน้ำตาลหรือดูแลโรคประจำตัวอย่างเคร่งครัด
- หากต้องการป้องกันมากขึ้น แพทย์อาจเลือกใช้ไหมชนิดละลาย หรือวางเทปปิดแผลหลังตัดไหมต่ออีกระยะหนึ่ง
ปัจจัยทำให้แผลแยกหลังตัดไหม
- ตัดไหมเร็วเกินไป
- ตัดก่อนที่แผลจะสมานดี แม้จะครบกำหนดวันแนะนำแต่แผลยังบอบบาง เมื่อเอาไหมออก เนื้อแผลที่ยังยึดไม่แน่นก็อาจแยกออกจากกันได้ค่ะ
- ตัดไหมช้าเกินไป
- หากปล่อยไหมไว้เกินเวลาจนแผลสมานเต็มที่ อาจเกิดอาการ “ไหมจม” คือไหมฝั่งแน่นอยู่ในเนื้อ ทำให้ทั้งดึงไหมออกยากและเกิดการบาดเจ็บกับผิวหนังโดยรอบ พอแผลบอบบาง พอดึงหรือกระชาก อาจแผลปริหรือแยกออกได้เช่นกัน
- เทคนิคการตัดไหม
- บางเคส มีการเย็บแผลด้วยเทคนิคพิเศษ ทำให้อาจจะต้องมีการดึงแรงกว่าปกติ ก็อาจจะเกิดโอกาสแผลปริได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วแพทย์ และพยาบาลจะระมัดระวังเป็นพิเศษอยู่แล้ว
- แผลติดเชื้อ
- ถ้าแผลมีหนอง บวม แดงมาก่อนตัดไหม เนื้อเยื่อ
- ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว
- เบาหวาน ภูมิคุ้มกันต่ำ ขาดโปรตีน สูบบุหรี่ = แผลหายช้า
- การดูแลแผลหลังตัดไหม
- ถ้าหลังตัดไหมแล้วไม่หลีกเลี่ยงแรงดึง เช่น ยกของหนัก หรือไม่ปิดแผลให้ดี อาจทำให้แผลเปิด
การดูแลหลังแผลปริ
เมื่อแผลปริหลังตัดไหม ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวหรือออกแรงบริเวณแผลให้มากที่สุด และต้องทำความสะอาดแผลตามวิธีที่คลินิกหรือแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อและช่วยให้แผลสมานได้ดี หากมีอาการผิดปกติ เช่น บวม แดง หรือปวดมาก ควรมาพบแพทย์ทันทีค่ะ