ฆสพ.สบส. ๒๙๘๓/๒๕๖๗

ถาม:

ตรวจ epigenetic มีข้อดี ข้อเสียอะไร

หมอต้าร์-exosome-สกินบูสเตอร์-ดีเลิฟเวอรี่คลินิก

(หมอต้าร์) พญ.อภิญญา เสาร์แก้ว

ตอบ:

คนไข้หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคยกับการตรวจ Epigenetic แต่หมอต้องบอกเลยนะคะว่า การตรวจนี้เป็น ตัวช่วยสำคัญ ที่ทำให้เรารู้ว่าอะไรที่ส่งผลต่อการทำงานของยีนเรา นอกเหนือจากพันธุกรรม เช่น อาหาร, ความเครียด, หรือแม้แต่ไลฟ์สไตล์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน การตรวจนี้เหมาะกับคนไข้ที่ใส่ใจสุขภาพระยะยาว, อยาก รู้ลึกถึงต้นตอของปัญหา หรือปรับพฤติกรรมเพื่อชะลอวัย เพราะตรวจแล้วเราจะสามารถวางแผนดูแลตัวเองได้อย่างตรงจุด ทั้งในเรื่องการกิน, การออกกำลังกาย และโภชนาการเสริม เฉพาะบุคคล เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาวค่ะ

ข้อดีที่เด่นที่สุดคือ ช่วยให้เราเข้าใจร่างกายของตัวเองอย่างลึกซึ้ง และสามารถปรับการดูแลสุขภาพได้แบบเฉพาะตัวค่ะ เช่น การลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง หรือการดูแลชะลอวัยที่เหมาะสมที่สุดในช่วงอายุของเรา แต่หมอก็ต้องบอกข้อเสียไว้ก่อนนะคะว่า การตรวจนี้ยังมีราคาสูงและข้อมูลที่ได้จะซับซ้อน ต้องปรึกษากับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อให้เข้าใจผลตรวจอย่างถูกต้อง แต่ถ้าคนไข้อยาก ดูแลสุขภาพให้ดีที่สุดและยาวนานที่สุด เพื่อความสวยจากภายในออกมาเปล่งปลั่งภายนอก หมอว่าการตรวจนี้เป็นสิ่งที่คุ้มค่าค่ะ!

ข้อดี

  1. ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าเฉพาะบุคคล
    คุณสามารถเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพของคุณนอกเหนือจากพันธุกรรมพื้นฐาน เช่น ไลฟ์สไตล์และสิ่งแวดล้อม
  2. ช่วยปรับแนวทางการใช้ชีวิต
    ข้อมูลที่ได้สามารถช่วยปรับโภชนาการ, พฤติกรรม และลดความเสี่ยงของโรคแบบเจาะจงได้
  3. การใช้งานด้าน anti-aging
    ช่วยวางแผนเรื่องการชะลอวัย หรือการฟื้นฟูสุขภาพเซลล์ให้ยาวนานขึ้น
  4. กระตุ้นการตระหนักรู้ในเรื่องสุขภาพ
    การดูผล epigenetic ทำให้คนปรับตัวให้มีไลฟ์สไตล์ที่ดีขึ้น

ข้อเสีย

  1. ข้อจำกัดของข้อมูล
    แม้ว่าการตรวจ epigenetics จะให้ข้อมูลเชิงลึก แต่งานวิจัยยังมีน้อย ยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ยืนยันความแม่นยำมากขึ้นอีกในอนาคต
  2. ค่าใช้จ่ายสูง
    การตรวจนี้ยังมีค่าบริการ ราคาค่อนข้างสูง ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน
  3. ความซับซ้อนในการแปรผล
    ข้อมูลที่ได้ต้องการคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาด้านสุขภาพ เพราะข้อมูลค่อนข้างเฉพาะทาง
  4. ผลกระทบเชิงจิตวิทยา
    เมื่อรู้ว่าตนเองเสี่ยงต่อโรคบางอย่าง อาจทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือตัดสินใจดูแลสุขภาพแบบผิดวิธีหากไม่ได้รับแนวทางที่เหมาะสม

epigenetic เพื่อป้องกันหรือแก้ไขสุขภาพ

การตรวจ Epigenetic จัดอยู่ในหมวดหมู่ของ การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (Preventive Medicine) และ เวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-aging médecine) ซึ่งเป้าหมายหลักคือการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกของยีนมาร่วมวางแผนป้องกัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม การตรวจนี้ไม่ใช่การรักษาโรคโดยตรง แต่เน้นการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ เพื่อคงความสมดุลของร่างกายและชะลอความเสื่อมในระดับเซลล์

ตอนเรียนแพทย์เราเน้นเรื่องการรักษาโรคเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะระบบการแพทย์ในยุคนั้นถูกออกแบบมาให้มองว่า การรักษาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่เมื่อเวลาผ่านไป หมอเองก็ได้เรียนรู้ว่าจริงๆ แล้ว การป้องกันควรมาก่อนการรักษา เพราะการป้องกันช่วยลดความเสี่ยงโรค ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และยังช่วยให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาก การตรวจ Epigenetic เองก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญของแพทย์ยุคใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มแพทย์ที่ทำงานด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยหรือสุขภาพเชิงป้องกัน ซึ่งตอนนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะช่วยให้เรารู้จักร่างกายและปัจจัยที่กระตุ้นโรคได้ ก่อนที่มันจะลุกลามจนรักษายาก ซึ่งหมอคิดว่านี่คือ “แพทย์แห่งอนาคต” อย่างแท้จริงค่ะ และหมออยากบอกว่า การตรวจ Epigenetic ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย ถ้าคนไข้ไหว การตรวจนี้ถือเป็นการลงทุนในสุขภาพตัวเองที่คุ้มค่ามาก เพราะ สุขภาพเราเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ถ้าพูดถึงเรื่องสุขภาพ หมอเห็นว่าสถานการณ์นี้คล้ายกับเรื่อง “การเงิน” ของคนไทยมากเลยค่ะ เราไม่เคยมีใครสอนเลยว่าต้องวางแผนการใช้เงินอย่างไรตั้งแต่เด็กๆ หลายคนพอเข้าสู่วัยทำงานก็หลงใช้จ่ายผิดพลาด ปล่อยเวลาให้ผ่านไปจนมาเรียนรู้เรื่องการเงินเอาตอนที่สายเกินไป แน่นอนว่าการเงินที่ผิดพลาดส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เช่นเดียวกับเรื่องสุขภาพ ถ้าเราไม่ดูแลตัวเองหรือไม่เข้าใจปัจจัยที่กระทบสุขภาพล่วงหน้า พอเกิดโรคขึ้นมา ค่าใช้จ่ายก็สูงมากและมักกระทบกันเป็นลูกโซ่ เรื่องสุขภาพและการเงินจึงสำคัญมากและควรเริ่มตั้งแต่ตอนที่เรายัง “ออกแบบอนาคตของเราได้” ซึ่งหมอเชื่อว่าการตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน เช่น การตรวจ Epigenetic เป็นวิธีที่คนยุคใหม่ควรลงทุน เพราะช่วยป้องกันไม่ให้คนไข้อายุมากไปพร้อมกับภาระทั้งทางร่างกายและการเงินที่อาจหลีกเลี่ยงได้ตั้งแต่ต้นค่ะ